Page 244 - kpi11890
P. 244
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
2
ส่วนตำบล จำนวน 18 คน โดยมีสัดส่วนสมาชิกสภาฯ เป็นชายจำนวน 16 คน และ
หญิงจำนวน 2 คน ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายสภา รวมทั้ง
ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายข้าราชท้องถิ่น (ทั้งฝ่ายประจำและลูกจ้าง) เป็นไปใน
ทิศทางที่ดี นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนการทำงานเชิงรุกที่มี
ประสิทธิภาพและปราศจากความขัดแย้งในการทำงาน
นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลังยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ
หน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยมีจำนวนเครือข่ายภาครัฐ
จำนวน 15 เครือข่าย ภาคเอกชน จำนวน 2 เครือข่าย และภาคประชาสังคม
จำนวน 9 เครือข่าย รวมทั้งสิ้น 26 เครือข่าย
บริบททางเศรษฐกิจ โครงสร้างที่มาของรายรับขององค์การบริหารส่วน
ตำบลเมืองบางขลัง สัดส่วนของรายได้ที่จัดเก็บเอง (ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่
และอากรฆ่าสัตว์) อยู่ในสัดส่วนต่ำ สาเหตุเพราะสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ขององค์การ
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
บริหารส่วนตำบลเมืองบางขลังเป็นที่ดินสำหรับภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลังมีรายได้
8,106,423.18 บาท (ไม่รวมเงินอุดหนุน เงินกู้ เงินจ่ายขาดจากเงินสะสม) เงิน
อุดหนุน 10,600,839.67 บาท ส่วนรายรับที่เป็นหลักขององค์การบริหารส่วน
ตำบลเมืองบางขลัง ได้แก่ รายได้จากการแบ่งภาษี (Shared-Tax) ซึ่งรัฐบาลกลาง
เป็นผู้จัดเก็บแล้วจัดสรรกลับมาให้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีและค่าธรรมเนีนมรถยนต์ (หรือเรียกว่าภาษีล้อเลื่อน) ฯลฯ
บริบททางสังคม ประชาชนในเขตตำบลเมืองบางขลัง ส่วนใหญ่มีอาชีพทาง
ด้านการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือทำนา ทำไร่ และรองลงมาคือ เลี้ยงสัตว์ โดยแยก
เป็นรายอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืชเศรษฐกิจได้แก่ ข้าวนาปี ถั่วเหลือง อ้อย กล้วย
ไข่ มะลิ และพุทรา การปศุสัตว์ในพื้นที่ ได้แก่ โคเนื้อ โคนม สุกร เป็ดเทศ ไก่ ห่าน
เป็นต้น การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่มีสูง จะเห็นได้จากที่องค์การบริหาร
ส่วนตำบลเมืองบางขลังจัดกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2551 ได้รับความร่วมมือ