Page 238 - kpi11890
P. 238
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
2
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ
คือ “การร่วมมือร่วมใจ การประสานงานที่ดี และการลดอัตตาระหว่าง
กันและกัน”
ระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ ศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กบ้านผาตูบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาสิงห์ สถานีอนามัยผาสิงห์ เครือข่าย
ผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน เครือข่ายแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขกับเครือข่าย
กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน โดยต่างภาคีเครือข่าย
ต่างมุ่งเป้าหมายร่วมกันที่ต้องการจะทำให้การดำเนินโครงการประสบความสำเร็จ
และมีความยั่งยืน ไม่คิดถึงประโยชน์ของตน ไม่คิดว่างานนี้เป็นงานขององค์การ
บริหารส่วนตำบลผาสิงห์ และไม่คิดว่างานนี้เป็นงานของกลุ่มงานทันตสาธารณสุข
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน แต่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่
จะได้รับ
นอกจากนั้นปัจจัยด้านผู้นำในตัวของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์
ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ก็เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้การดำเนินโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน
ได้รับความสำเร็จ ด้วยเพราะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์คนปัจจุบัน
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาชมรมองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดน่าน
ในปัจจุบันจึงได้มีโอกาสที่จะเสริมสร้างเครือข่ายสาธารณสุขขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลผาสิงห์เล่ากล่าวให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ ได้รับฟัง จนกระทั่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ นั้นเกิดความสนใจที่จะเข้าร่วมศึกษาดูงานในพื้นที่
ขององค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ หรือเกิดความต้องการร่วมที่จะเข้าเป็น
สมาชิกภาคีเครือข่ายสาธารณสุขด้วย ส่งผลให้เครือข่ายสาธารณสุขจังหวัดน่าน
ขยายตัว นอกจากนั้น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยังเคยทำงานองค์กรพัฒนา
เอกชน (NGOs) ขององค์กรพัฒนาชุมชนเมืองมาก่อนจึงมีพื้นฐานในการดำเนินการ
บริหารงานในลักษณะเครือข่ายอยู่เป็นทุนเดิม จึงพร้อมที่สนับสนุนกระบวนการ
บริหารภายใต้รูปแบบเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะสนับสนุนโครงการ งบประมาณให้แก่
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ในฐานะ
เครือข่ายต่างๆ เห็นได้จากการสนับสนุนการสร้างเครือข่าย ด้านสวัสดิการสังคม