Page 109 - kpi11890
P. 109
บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า’ 52
101
เอาพลังทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชนใน
พื้นที่ทุกระดับจากชุมชนสู่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ให้เข้ามามีส่วนร่วม
ดำเนินการภายใต้กระบวนการเรียนรู้และทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ ได้นำมา
สู่แนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการ คือ การจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง
3 ส่วนหลัก ได้แก่ คณะผู้บริหารและคณะทำงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
อำนาจเจริญ มีบทบาทหลักในการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้าน
งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ ที่มีความจำเป็น ส่วนต่อมา คือ ผู้บริหารหรือผู้รับ ด้านด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
ผิดชอบงานพัฒนาบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และสำนักงาน
สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ทำหน้าที่ในการให้ความรู้และสนับสนุนข้อมูลทาง
วิชาการ และในส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมประสานระหว่างสองส่วนแรก คือ คณะ
กรรมการบริหารชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นฝ่ายปฏิบัติ
งานในพื้นที่ ซึ่งมีบทบาทในกระบวนการนโยบายตั้งแต่เสนอประเด็นปัญหา
ให้ความเห็นเพื่อพิจารณาตัดสินใจจนถึงประเมินผลในการดำเนินงาน โดยภาคีทั้ง
3 ส่วนจะร่วมปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงบทบาท ภารกิจ ทิศทางการ
ดำเนินงาน เป้าหมายการพัฒนาภาคีเครือข่าย ตลอดจนร่วมกำหนดแนวทางการ
ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่ในทุกระดับ
นอกเหนือจากการดำเนินงานของเครือข่ายที่อยู่ในรูปแบบของการประสาน
งานเพื่อปรึกษาหารือ หรือ กำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันเพื่อประสิทธิผล
ในเชิงนโยบายแล้ว กล่าวได้ว่า การจัดโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริม
ศักยภาพและพัฒนาการทำงานของเครือข่ายเป็นภารกิจสำคัญ เนื่องมาจากในทาง
ปฏิบัติแล้ว การเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไม่ได้มีภารกิจเฉพาะงาน
ด้านสาธารณสุขเท่านั้น แต่มักจะมีลักษณะของการเป็นสมาชิกของเครือข่ายหรือ
เป็นคณะทำงานให้กับส่วนงานด้านอื่นๆ ส่งผลทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้านเป็นแกนหลักและเป็นต้นแบบของอาสาสมัครหลากหลายด้าน อีกทั้งจาก
บริบทของพื้นที่ที่ผู้นำชุมชนตามธรรมชาติมีจำนวนและบทบาทที่ลดลงไป ทำให้
เกิดแนวคิดที่จะต้องส่งเสริมให้ผู้นำที่เป็นทางการมีศักยภาพและสามารถทำงาน
ร่วมกันได้มากยิ่งขึ้น