Page 32 - kpi10462
P. 32
ชิงชัยกรุงเทพ 2551 : ประมวลและสรุปผลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
1. ทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ หลังการ
เลือกตั้ง พ.ศ. 2522
2. เข้าร่วมรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (1, 2, 3, 4, 5)
3. เข้าร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ยุคที่สี่ (ปลายปี พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน): วันที่ 12 ธันวาคม 2533
พรรคประชาธิปัตย์ได้ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีพลเอก
ชาติชาย ชุณหะวัณ หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยมีการยึด
อำนาจของ “คณะรสช.” และเกิดเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” เมื่อปี พ.ศ. 2535 ใน
ที่สุดเหตุการณ์สงบลงและมีการเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 ครั้งนี้พรรค
ประชาธิปัตย์มี ส.ส. ได้รับเลือกตั้งมากที่สุดเป็นจำนวน 79 คนและพรรคจึงได้เป็น
แกนนำจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศมาเป็น
เวลา 2 ปีครึ่ง ถึงกลางปี พ.ศ.2538 มีปัญหาทางการเมืองจนต้องยุบสภา และมีการ
เลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 หลังเลือกตั้งทางพรรคชาติไทยได้เสียง 2
เป็นอันดับหนึ่งจัดตั้งรัฐบาล ทางพรรคประชาธิปัตย์จึงมาเป็นฝ่ายค้านของรัฐบาล
นายบรรหาร ศิลปอาชา อยู่ประมาณ 1 ปี จนกระทั่งนายบรรหาร ศิลปอาชาประกาศ
ยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 แต่พรรค
ประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้เสียงมากเป็นอันดับหนึ่ง จึงต้องเป็นพรรคฝ่ายค้านของรัฐบาล
ของนายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จนกระทั่งเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ
ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2540 พลเอกชวลิต ลาออกจากนายกรัฐมนตรี และทางพรรค
ประชาธิปัตย์สามารถหาเสียงสนับสนุนได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จึงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นายชวน หลีกภัยได้กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
อีกครั้ง จนกระทั่งมีการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 ที่พรรคไทยรักไทยชนะได้เป็น
รัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านที่สำคัญ
ทั้งนี้สำหรับการเมืองท้องถิ่นในกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์เป็น
พรรคการเมืองที่ให้ความสำคัญได้ส่งผู้สมัครเข้าชิงชัยในการเลือกตั้งทั้งตำแหน่งผู้ว่า
ส ถ า บั น พ ร ะ ป ก เ ก ล้ า