Page 13 - kpi10462
P. 13
ชิงชัยกรุงเทพ 2551 : ประมวลและสรุปผลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
“กรณีที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินอาจส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ
กทม.ไปบ้าง แต่การประกาศภาวะนี้เป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น เมื่อยกเลิกประกาศนี้
ก็จะสามารถหาเสียงได้ตามปกติเช่นเดิม และอาจมีการหารือกับกทม.เพื่อให้หารือ
กับ กกต.ต่อไป เพื่อชดเชยกับจำนวนวันที่หายไป อาจจะต้องมีการเลื่อนวันเลือกตั้ง
แต่ก็จะไม่กระทบและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแน่นอน” 2
สิ่งที่เห็นได้ชัดในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ก็คือทางผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ระงับการออกปราศรัยหาเสียงตามที่ได้กำหนดไว้
ล่วงหน้าทันที เนื่องจากในประกาศภาวะฉุกเฉินนั้นได้มีการกำหนดการห้ามการชุมนุม
ทางการเมืองไว้ด้วย ผู้สมัครทั้งหลายจึงเกิดอาการ “เกร็ง” กัน และถ้าหาเสียงกันตาม
ปกติไม่ได้ การเลือกตั้งตามกำหนดการเดิมก็คงจะเป็นไปได้ยากด้วย
ภาวะทางการเมืองที่ดูจะคับขันที่เกิดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551
กลับไม่ขยายตัวและได้ลดระดับความตึงเครียดลงมา ยิ่งเมื่อผู้บัญชาการทหารบกซึ่ง
เป็นผู้ได้รับมอบอำนาจตามกฎหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบรักษาความสงบมิได้ใช้
กำลังเข้าแก้ปัญหา หากแต่ได้หาลู่ทางป้องกันการปะทะกันเป็นหลัก การเมืองที่ดู
เหมือนจะรุนแรงจึงเบาบางลง และทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครทั้งหลายกลับออกมาปราศรัยหาเสียงกันตามเดิม ความคิดที่จะให้
เลื่อนการเลือกตั้งออกไปจึงไม่ได้รับการสนองตอบ แม้ว่าจะมีผู้สมัครคนสำคัญคือ
นายประภัสร์ จงสงวน แห่งพรรคพลังประชาชนเห็นว่า ควรจะเลื่อนการเลือกตั้ง
ออกไป ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังคงยืนยันให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 5
ตุลาคม พ.ศ. 2551 เหมือนเดิมดังที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้น และการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครก็เป็นการเลือกตั้งในวันเดียว ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้าแต่อย่างใด
2
http://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlkPTE3NjY2Jm50e
XBlPWNsaXA= เข้าถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2551
ส ถ า บั น พ ร ะ ป ก เ ก ล้ า