Page 305 - kpi10440
P. 305
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
(1) การมีส่วนร่วมในระดับเสริมอำนาจให้ประชาชน: เป็นขั้นที่ให้บทบาท
ประชาชนในระดับที่สูงสุด เพราะให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ รัฐหรือ
องค์กรปกครองท้องถิ่นจะดำเนินการตามการตัดสินใจนั้น รูปแบบ
การมีส่วนร่วมในขั้นนี้ที่รู้จักกันดีคือ การลงประชามติ หรือสภาเมือง
(2) การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ: เป็นการให้บทบาทของ
ประชาชนในระดับสูง โดยประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นจะ
ทำงานร่วมกันในกระบวนการของการตัดสินใจ ฉะนั้นความคิดเห็น
ของประชาชนจะสะท้อนออกมาในการตัดสินใจค่อนข้างสูง รูปแบบ
การมีส่วนร่วมในขั้นนี้เช่น คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน และ
คณะที่ปรึกษาฝ่ายประชาชน
(3) การมีส่วนร่วมในระดับเข้ามามีบทบาท: เป็นลักษณะการเปิดโอกาสให้
ประชาชนมีส่วนร่วมทำงานตลอดกระบวนการตัดสินใจ มีการแลก
เปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลระหว่างรัฐกับประชาขนอย่างจริงจัง
และมีจุดมุ่งหมายชัดเจน ข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนจะสะท้อน
ออกมาในทางเลือกต่างๆ รูปแบบการมีส่วนร่วมในขั้นนี้ เช่น การ
ประชุมเชิงปฎิบัติการ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนขั้นนี้ใกล้
เคียงกับการมีส่วนร่วมในระดับการร่วมมือ เพียงแต่รูปแบบการมี
ส่วนร่วมแบบร่วมมือมีลักษณะเป็นกิจกรรมถาวรมากกว่าการมี
ส่วนร่วมในขั้นนี้
(4) การมีส่วนร่วมในระดับหารือ: เป็นลักษณะการให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้สึกและความคิดเห็นประกอบการ
ตัดสินใจ ดังนั้นประชาชนมีบทบาทในฐานะการให้ข้อมูล การตัดสินใจ
เป็นของหน่วยงานภาครัฐ รูปแบบการมีส่วนร่วมในลักษณะนี้เช่น การ
สำรวจความคิดเห็น การประชุมสาธารณะ
(5) การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร: เป็นการมีส่วนร่วมของ
2 สถาบันพระปกเกล้า