Page 200 - kpi10440
P. 200
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
6.10 ภาษาที่ใช้ในกฎหมาย
6.10.1 ภาษาธรรมดาทั่วไป
ถ้อยคำหรือภาษาตามที่คนทั่วไปใช้หรือเข้าใจ เช่น “ต้องคำพิพากษาให้
จำคุก” มีการแปลความว่า “ต้องถูกจำคุกจริง ๆ” ความหมายเปลี่ยนไป
6.10.2 ภาษากฎหมาย หรือภาษาทางเทคนิค
ถ้อยคำหรือภาษาที่มีความหมายพิเศษ กว้างขวาง ลึกซึ้ง แตกต่างไปจากภาษา
ธรรมดาที่ใช้ทั่วไป แต่เป็นภาษาที่บรรดานักกฎหมายใช้และเข้าใจกัน เช่น “วิ่งราว
ทรัพย์” คนทั่วไปเข้าใจว่าต้องมีการวิ่งเอาทรัพย์ไป แต่ภาษากฎหมาย หมายถึง “การ
ลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า” ซึ่งอาจจะไม่มีการวิ่งเลยก็ได้ เช่น หยิบเอาของเขาไป
แล้วก็เดินออกไปต่อหน้า ก็อาจเป็นการวิ่งราวทรัพย์ได้
6.10.3 คำนิยาม
ถ้อยคำหรือภาษาที่ผู้ร่างกฎหมายประสงค์จะให้มีความหมายเฉพาะที่แตกต่าง
จากภาษาธรรมดาทั่วไป หรือประสงค์จะให้มีความหมายพิเศษ ต้องไม่เขียนกว้างตน
เกินไป
การตีความ แบ่งเป็นการตีความตามลายลักษณ์อักษรและการตีความตาม
เจตนารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ปัจจุบันมักมองข้ามการตีความตามเจตนารมณ์ มักพิจารณาตาม
ลายลักษณ์อักษรมากกว่า ในการตีความต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น และตีความเพื่อ
ให้ปฏิบัติได้ รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดตามมา
สถาบันพระปกเกล้า 1