Page 34 - kpiebook63029
P. 34

33







                  3.  กำรเลือกตั้งในปี 2544 - 2548




                          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในปี 2544 - 2548 เป็นการเลือกตั้งภายใต้

                  รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 จังหวัดเลยถูกแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 4 เขต มีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                  จำานวน 4 คน (เขตเลือกตั้งละ 1 คน) โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย อำาเภอเมืองเลย อำาเภอนาด้วง

                  (เฉพาะตำาบลท่าสะอาด และตำาบลท่าสวรรค์) และอำาเภอเอราวัณ เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย อำาเภอ
                  ผาขาว อำาเภอภูกระดึง อำาเภอภูหลวง อำาเภอวังสะพุง (เฉพาะตำาบลผาบิ้ง ตำาบลหนองหญ้าปล้อง

                  และตำาบลโคกขมิ้น) และอำาเภอหนองหิน เขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วย อำาเภอภูเรือ อำาเภอด่านซ้าย
                  อำาเภอนาแห้ว และอำาเภอวังสะพุง (ยกเว้นตำาบลผาบิ้ง ตำาบลหนองหญ้าปล้อง และตำาบลโคกขมิ้น) และ

                  เขตเลือกตั้งที่ 4 ประกอบด้วย อำาเภอเชียงคาน อำาเภอปากชม อำาเภอท่าลี่ และอำาเภอนาด้วง (ยกเว้น
                  ตำาบลท่าสะอาดและตำาบลท่าสวรรค์)


                          เมื่อพิจารณาผลการเลือกตั้งในปี 2544 เป็นที่น่าสนใจเมื่อพรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นพรรคการเมือง

                  ใหม่สามารถครองฐานคะแนนเสียงในทุกเขตพื้นที่ในจังหวัดเลยได้ แม้การเลือกตั้งในปี 2544
                  พรรคไทยรักไทยสามารถชนะได้เพียง 2 เขต คือ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายทศพล สังขทรัพย์ และเขตเลือกตั้งที่ 2

                  นายธนเทพ ทิมสุวรรณ ขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 3 และ 4 เป็นของพรรคเสรีธรรม ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 3
                  นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข และเขตเลือกตั้งที่ 4 นายสุวิชญ์ โยทองยศ ซึ่งในภายหลังพรรคเสรีธรรมได้

                  ควบรวมพรรคการเมืองเข้ากับพรรคไทยรักไทย
                                                           11

                          พรรคไทยรักไทย ถือเป็นพรรคการเมืองแรกที่เกิดขึ้นในยุคกระแสปฏิรูปภายใต้รัฐธรรมนูญ
                  ฉบับปี 2540 ท่ามกลางวิกฤตศรัทธาที่เกิดขึ้นกับนักการเมืองหน้าเก่า ปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาล
                  จากการเป็นรัฐบาลที่เกิดจากพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำากุ้ง

                  เมื่อมีพรรคการเมืองใหม่อย่างพรรคไทยรักไทยเกิดขึ้น การชูนโยบายประชานิยมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

                  การนำาเสนอนโยบายเร่งด่วนเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ การสร้างภาพลักษณ์พรรคสมัยใหม่ภายใต้ระบบ
                  การเลือกตั้งที่ให้ประชาชน เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ การนำาแนวคิดภาคธุรกิจมาปรับใช้ในการขับเคลื่อน
                  นโยบายทางการเมืองที่ให้ประชาชนจับต้องได้ รวมถึงภาพลักษณ์ผู้นำาโดยเฉพาะ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

                  ที่มีความโดดเด่นในด้านการนำาเสนอวิสัยทัศน์และมีประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจที่ประสบความสำาเร็จ

                  นอกจากนี้ การที่พรรคใช้กำาลังทุนที่เข้มแข็งในการผลักดันเป้าหมายทางการเมืองด้วยการดึงอดีตนักการเมือง
                  อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่างๆ ที่มีฐานเสียงดีอยู่แล้วมาเข้าร่วมสังกัดพรรคไทยรักไทย
                  ทั้งหมด เพื่อหวังผลชนะในการเลือกตั้ง ได้ทำาให้พรรคไทยรักไทยเติบโตทางการเมืองอย่างรวดเร็ว






                  11  Siripan Nogsuan Sawasdee, Thai Political Parties in the Age of Reform, (Bangkok: Institute of Public Policy
                  Studies, 2006).
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39