Page 25 - kpiebook63029
P. 25

24       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเลย








             หรือการเลือกตั้งในปี 2554 พรรคเพื่อไทยที่ต้องเสียพื้นที่ให้อดีต ส.ส. พรรคภูมิใจไทยไปในครั้งที่

             พรรคพลังประชาชนถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค ทำาให้นางพัฒนา สังขทรัพย์ ส.ส. จังหวัดเลย
             เขต 1 พรรคพลังประชาชน ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทยแทนและได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลต่อมา

             แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้เอง พรรคเพื่อไทยกลับสามารถเอาชนะคนในตระกูลสังขทรัพย์ไปได้ ทำาให้พรรค
             เพื่อไทยยังสามารถรักษาฐานเสียงพื้นที่จังหวัดเลยทั้งหมดเช่นเดิม 7


                      สถานการณ์การเลือกตั้งในจังหวัดเลยได้รับความสนใจเป็นพิเศษมากขึ้น เมื่อพระราชกฤษฎีกา

             ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ถูกประกาศใช้ และจัดให้มีการเลือกตั้งใน
             วันที่ 24 มีนาคม 2562 เนื่องจากจังหวัดเลยถูกปรับเขตพื้นที่การเลือกตั้งลดลง 1 เขต เหลือ 3 เขต จากเดิม

             ที่มีทั้งหมด 4 เขต นอกจากนี้ อดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทยเกือบทั้งหมด ได้แก่ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข
             ส.ส. เขต 1 นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส. เขต 3 และนายวันชัย บุษบา ส.ส. เขต 4 (ยกเว้น นางนันทนา

             ทิมสุวรรณ ส.ส. เขต 2) ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และให้การสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                              8
             เป็นนายกรัฐมนตรี  ทำาให้พรรคเพื่อไทยเสีย ส.ส. ซึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงในพื้นที่ไปถึง 3 คน และทำาให้
             การเลือกตั้งครั้งนี้กลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีของพรรคการเมืองระหว่าง 3 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคเพื่อไทย
             พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย และเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีระหว่างตระกูลนักการเมืองที่มีชื่อเสียง

             มาอย่างยาวนานในจังหวัดเลย โดยครั้งนี้ทั้ง 3 ตระกูล ส่ง อดีต ส.ส. เดิม และส่งเครือญาติลงสมัคร
             รับเลือกตั้ง ซึ่งแต่ละตระกูลต่างสังกัดพรรคการเมืองคนละพรรค ทำาให้การแข่งขันทางการเมืองครั้งนี้

             ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก


                      จากที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ผู้วิจัยจึงมุ่งหวังที่จะศึกษาเกี่ยวกับการแข่งขันทางการเมือง โครงสร้าง
             ของตระกูลการเมือง หรือเครือข่ายทางการเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดเลย และการเปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง
             ของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเครือข่ายทางการเมืองนั้น มีผลต่อรูปแบบการแพ้ชนะของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

             หรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ การเลือกตั้งในระบบใหม่ที่เป็นแบบบัตรใบเดียวที่บีบคั้นให้คนต้องเลือกคน

             หรือเลือกพรรคการเมือง มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ ในส่วนของนโยบาย
             พรรคที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้ลงคะแนนเสียงหรือไม่ หากเปรียบเทียบ
             กับปัจจัยด้านตัวบุคคลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นโยบายพรรคหรือตัวบุคคลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของ

             ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่ากัน นอกจากนี้ สภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

             ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำาให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีความนิยม หรือมีความผูกพันกับพรรคการเมืองต่างไป
             จากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อคำาถามว่า 8 ปีที่ไร้การเลือกตั้งนั้น ความเป็นพรรคการเมือง
             หรือความนิยมในพรรคการเมือง ยังสามารถฝังรากลึกในสังคมไทยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด




             7   สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, สถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม
             2554. 2554, จาก www.ect.go.th/ect_th/ewt_dl_link.php?nid=2236
             8   “พลังประชารัฐ ดูด “ปรีชา” สำาเร็จ “เพื่อไทย” ยันไม่กระทบมาก” คมชัดลึก, 18 มิถุนายน 2561, จาก www.
             komchadluek.net/news/politic/330917
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30